รับมืออย่างไร กับ “ความซึมเศร้าหลังเที่ยว” อันตรายหรือไม่ ต้องไปพบจิตแพทย์หรือเปล่า
หลังจากที่ได้ไปพักผ่อนหยุดยาวกันหลายวันในช่วงวันสงกรานต์ หรือจะเป็นวันหยุดยาวอื่น ๆ เวลาแอดมินกลับมาทีไรจะรู้สึกแอบเศร้า บางทีก็หดหู่ ไม่อยากไปทำงาน เป็นแบบนี้แทบจะทุกครั้ง วันนี้เลยจะมาเล่าถึงอาการนี้ให้ฟังกับ ภาวะ Post-Travel Depression (PTD) หรือ "อาการซึมเศร้าหลังเที่ยว" กัน
อาการซึมเศร้าหลังเที่ยว เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากช่วงที่ได้มีการหยุดพักผ่อน ซึ่งเกิดได้กับทุกคน โดยสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ซึ่งอาการดังกล่าวไม่ใช่โรคทางจิตเวชหรือเป็นโรคซึมเศร้าแต่จะเกิดจากช่วงหยุดยาวเป็นช่วงที่มีความสุขมากกว่าปกติ หลังจากที่ต้องกลับมาใช้ชีวิตธรรมดา ความสุขเหล่านั้นก็หายไปกะทันหัน อีกทั้งรู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตและไปการทำงานตามปกติอีกด้วย อาการนี้มีชื่อเรียกในทางจิตวิทยาหลายชื่อ ทั้ง Post Travel Depression หรือ Post - Vacation Syndrome แต่มีสาเหตุเดียวกันคือ ร่างกายของเรามีการลดระดับของฮอร์โมน Endorphin (เอนดอร์ฟิน) แบบเฉียบพลัน ซึ่งหลังจากที่เราได้ออกไปพักผ่อนเป็นระยะเวลานาน มีความสุขที่ต่อเนื่องกัน แต่พอหลังเที่ยวเสร็จสมองจะกลับเข้าสู่ภาวะเริ่มต้นการทำงาน และจะกังวลกับการทำงานที่จะเกิดขึ้น ทำให้เอนดอร์ฟินลดลงแบบทันทีทันใด พอสมองส่วนควบคุมอารมณ์ปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้เกิดทำให้เอนดอร์ฟินลดลงแบบทันทีทันใด พอสมองส่วนควบคุมอารมณ์ปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้เกิด "อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว" นั่นเอง
เรามาดูวิธีการรับมือ กับ "อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว" กันดีกว่า
1. เข้าใจในสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคิดถึงแต่สิ่งดีๆ
คิดถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันอย่างเป็นเหตุเป็นผล นึกถึงสิ่งที่เราพักผ่อนมาเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทำสิ่งดีๆ สิ่งใหม่ๆต่อไป เตือนให้รู้ตัวเองอยู่เสมอ
2. เริ่มต้นจัดระเบียบและวางแผนการกลับมาทำงาน
เริ่มจากการเตรียมความพร้อม จัด Priority ความสำคัญของแต่ละงาน พยายามทำเรื่องง่ายๆก่อนให้เกิดความสำเร็จ แล้วค่อยจัดการเรื่องที่ยากขึ้น สมองจะได้ไม่เครียดมากเกินไปในวันทำงานวันแรก สร้างเป้าหมาย Small success เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจในการทำงาน และหากงานเกิดความสำเร็จตามแผนจะทำให้เรามีความสุขกับการทำงานตรงหน้าได้เช่นกัน
3. พูดคุยกับบุคคลอื่น
การพูดคุย ระบายอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพื่อแชร์ประสบการณ์ที่ไปพบเจอมา ไม่ทำให้เกิดช่วงเวลาคิดวกวนเพียงเรื่องในอดีต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยรับมือกับอาการซึมเศร้าหลังหยุดยาวได้
4. หากิจกรรมอื่นทำ
การหากิจกรรมที่คุณชื่นชอบ ทำ เช่น การพักผ่อน การนวดผ่อนคลาย การออกกำลังกาย หรือเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกทานผลไม้อบแห้งเพิ่มความสดชื่น เพิ่มความแปลกใหม่ไม่จำเจ เช่น ส้มแมนดารินอบเกลือหิมาลายัน แครนเบอร์รี่คลุกพริกเกลือหิมาลายัน สับปะรดคลุกพริกเกลือหิมาลายัน ทั้งสามตัวเป็นสินค้าขายดีของไทยพิกเซลฟรุ๊ต หรือจะเป็นการเลือกทานถั่วเป็นขนมขบเคี้ยวเพลินก็ได้
5. ไปกันต่อที่ทริปถัดไป
ถ้าลืมความสนุกในวันหยุดยาวไม่ได้ ก็ไปกันต่อกับการแพลนทริปถัดไป การตั้งเป้าหมายทริปถัดไปก็เป็นตัวช่วยที่ดีเลยทีเดียว
ขอบคุณที่มาจากกรมสุขภาพจิตและปีติ คลินิกที่ให้แอดมินได้ทราบอาการของตนเองและเอามาแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้รับมือกับสภาพจิตใจของตัวเองหลังจากการท่องเที่ยวและวันหยุดยาวกัน เอาเป็นว่าถ้าใครมีอาการแบบนี้อย่าวิตกกังวลแล้วอาการจะหายไปเป็นปกติ